Screwjack December 12, 2023December 12, 2023สิริบทความ Screw Jack (Jackscrew) สกรูแจ็คหรือสกรูแม่แรงอุตสาหกรรม สามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 0.1 - 250 ตัน เป็นอุปกรณ์ใช้ยกน้ำหนัก ปรับตำแหน่ง และรักษาตำแหน่ง โดยอาศัยชุดห้องเฟืองขับเพลาสกรูเพื่อยกหรือปรับระดับ โดยแบ่งเป็นรูปแบบที่แต่งต่างกันได้ 2 แบบ คือ 1) เพลาสกรูไม่หมุนแต่จะเลื่อนเข้าออกเพื่อยกและปรับตำแหน่ง (Translating screw type) รูปแบบปลายสกรูสามารถติดตั้งหน้าแปลน, เกลียวตัวผู้, เพลา หรือ สลักบานพับได้ ขึ้นการจุดประสงค์ของงาน 2) เพลาสกรูหมุนเพื่อเลื่อนนัตสกรู (Travelling nut) เข้าออกเพื่อยกและปรับตำแหน่ง (Rotating screw type) ปลายสกรูมักใช้ตลับลูกปืนเพื่อประคองเพลาสกรู ทั้งนี้มักนิยมใช้ในงานต่างๆ ได้แก่ - งานยกปรับระดับเพื่อประโยชน์ด้านการซ่อมบำรุง - งานยกปรับระดับเพื่อให้เหมาะสมกับสรีระของผู้ปฏิบัติงาน - การปรับองศาของจานรับสัญญาณ - เครื่องขุดเจาะขนาดใหญ่ - ปรับองศารับแสงอาทิตย์ของแผงสุริยะ - ยกปรับระดับตำแหน่งเครื่องลำเลียง - ยกปรับระดับการปิดเปิดประตูน้ำ - ยกปรับระดับพื้นเวทีการแสดงหรือพิพิธภัณฑ์ - ยกปรับระดับความลาดเอียงของสนามแข่งจักรยาน ข้อดีข้อด้อย ของระบบสกรูแม่แรง - เนื่องจากฟันเกลียวมีรูปแบบสี่เหลี่ยมคางหมูจึงสามารถล็อคหรือรักษาตำแหน่งได้โดยอัตโนมัติ - มีคงามปลอดภัย เนื่องจากมีการล็อคตำแหน่งในตัวเอง จึงป้องกันแท่นน้ำหนักเลื่อนลง - มีความแม่นยำ - ติดตั้งง่าย - ต้องการพื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าระบบไฮดรอลิกส์ - มีความทนทานมาก - มีเสถียรภาพสูง - บำรุงรักษาต่ำ - ไม่มีปัญหารั่วแบบระบบไฮดรอลิคส์ - ราคาเริ่มติดตั้งสูงกว่าระบบไฮดรอลิกส์ - การเลื่อนปรับตำแหน่งมักทำได้ช้ากว่าไฮดรอลิกส์ - สามารถใช้ระบบ ball screw ในงานที่ต้องการความเร็วในการยกที่เร็วขึ้น ข้อมูลเบื้องต้นในการออกแบบ - น้ำหนักของระบบที่ต้องยก - ดันน้ำหนักขึ้น (สกรูแม่แรงอยู่ใต้น้ำหนัก) หรือ ดึงน้ำหนักขึ้น (สกรูแม่แรงอยู่เหนือน้ำหนัก) - จำนวนสกรูแม่แรงที่ใช้ต่อระบบ - ระยะในการยก - ความเร็วในการยก - จำนวนครั้งในการยกขึ้นลงต่อชั่วโมง - จำนวนชั่วโมงทำงานต่อวัน